top of page

ฉนวนกันความร้อน กับคุณค่าที่บ้านคุณคู่ควร

การเลือกใช้หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป หรือที่ใครๆก็เรียกกันว่า หลังคาปิงปอง หลังคาแซนด์วิช กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เดิมทีหลังคาและผนังฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ มีไว้สำหรับใช้ในการกักเก็บอุณหภูมิของห้องเย็น แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีผู้นำมาใช้กับหลังคา นับว่าได้ผลดีทีเดียว แต่เหล่าหลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปเหล่านี้ มีอยู่หลายประเภทให้เลือกใช้ เเถมยังมีความแตกต่างกันไป ทั้งราคาและคุณสมบัติ เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับประเภท คุณสมบัติ และข้อควรรู้เกี่ยวกับหลังคาฉนวนกันความร้อน ก่อนตัดสินใจนำมาใช้งานให้ถูกต้องตามจุดประสงค์


ฉนวนกันความร้อนหลังคาเมทัลชีท

ประเภทของหลังคาฉนวนกันความร้อน

หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มักใช้เมทัลชีท หรือพลาสติกในการขึ้นรูปลอน ก่อนจะเเทรกชั้นของเเผ่นฉนวนไว้ด้านใน แล้วปิดท้ายด้วยวัสดุป้องกันฉนวนเสียหายอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำแผ่นฉนวนกันความร้อนนั้น มักมีความเเตกต่างหลากหลายกันออกไป เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน เราสามารถเเบ่งประเภทได้ดังนี้


1. แผ่นฉนวนกันความร้อน EPS (Expanded Polystyrene)

EPS ย่อมาจาก Expanded polystyrene Foam ผลิตขึ้นจากแผ่นโฟมพอลิสไตรีน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “โฟมขาว” โดยนำมารีดผนึกติดกันด้วยกาวพอลิยูรีเทน มีค่าความเป็นฉนวนดี แต่ด้อยกว่า PU เเละมีราคาที่ย่อมเยากว่า

แผ่นฉนวนกันความร้อน EPS (Expanded Polystyrene)
แผ่นฉนวนกันความร้อน EPS (Expanded Polystyrene)


2. แผ่นฉนวนกันความร้อน XPS (Extruded Polystyrene)

XPS ย่อมาจาก Extruded Polystyrene Foam ซึ่งก็คือโฟมพอลิสไตรีนที่เปลี่ยนมาใช้วิธีฉีดอัดแรงดัน ก่อนรีดผนึกติดกันด้วยกาวพอลิยูรีเทน จึงทำให้มีค่าความเป็นฉนวนและความแข็งแรงที่ดีกว่า EPS

แผ่นฉนวนกันความร้อน XPS (Extruded Polystyrene)
แผ่นฉนวนกันความร้อน XPS (Extruded Polystyrene)


3. แผ่นฉนวนกันความร้อน PU (Polyurethane Foam)

PU Polyurethane Panel ผลิตขึ้นจากการฉีดโฟมพอลิยูรีเทน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “โฟมเหลือง” มีค่าความเป็นฉนวนที่ดีกว่า EPS และ XPS ในราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เท่า PIR จึงเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับการใช้เป็นหลังคากันความร้อนสำหรับครัวเรือน

แผ่นฉนวนกันความร้อน PU (Polyurethane Foam)
แผ่นฉนวนกันความร้อน PU (Polyurethane Foam)


4. แผ่นฉนวนกันความร้อน PIR (Polyisocyanurate)

PIR ย่อมาจาก Polyisocyanurate เป็นโฟมที่พัฒนามาจากโฟมพอลิยูรีเทน มีคุณสมบัติเหมือน PU Foam แต่มีคุณสมบัติกันการลามไฟได้ดีกว่า มีค่าการเกิดควันที่ต่ำ เหมาะกับอาคารที่ต้องการความปลอดภัย หรือต้องการให้ผ่านกฏหมายด้านการป้องกันอัคคีภัย เเถมโฟมชนิดนี้ยังปล่อยสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC ต่ำ จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด


แผ่นฉนวนกันความร้อน PIR (Polyisocyanurate)
แผ่นฉนวนกันความร้อน PIR (Polyisocyanurate)


5. แผ่นฉนวนกันความร้อน ROCKWOOL

Rockwool หรือ ฉนวนหินภูเขาไฟ สามารถทนความร้อนได้ถึง 600 -900 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติกันไฟและป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ เหมาะกับห้องที่มีอุณหภูมิความร้อนสูง เช่น ห้องอบต่าง ๆ เเละสามารถใช้ในงานกั้นห้องได้เช่นกัน เเต่ติดที่มีราคาค่อนข้างสูง และไม่จำเป็นสำหรับการใช้เป็นหลังคากันความร้อนจากแสงแดด

แผ่นฉนวนกันความร้อน ROCKWOOL
แผ่นฉนวนกันความร้อน ROCKWOOL


สรุป

หากต้องการ หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป ในราคาย่อมเยาแล้วละก็ ฉนวนประเภท EPS หรือ EXP อาจจะเป็นคำตอบที่ดี แต่ถ้ามีงบประมาณที่สูงขึ้นมาสักหน่อย ฉนวนแบบ PU ถือเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพและทนทานมากกว่า สำหรับฉนวนแบบ PIR หรือ Rockwool นั้น เหมาะกับอาคารเฉพาะทางที่ต้องการมาตรฐานความทนไฟในการใช้งานนั่นเอง



ดู 245 ครั้ง

Comments


bottom of page