top of page

ข้อควรระวังใน ! ”การติดตั้งหลังคาเมทัลชีท”


ข้อควรระวังในการติดตั้งเมทัลชีท

หลังคาเมทัลชีทนั้นนับว่าเป็นหลังคาที่มีปัญหารั่วซึมน้อยที่สุดเพราะหลังคาเหล็กเมทัลชีทจะมีความยาวที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่แผ่นจากสันจั่วไปจนถึงชายคา “ ถึงแม้ว่าข้อดีจะมีมาก แต่หากติดตั้งไม่ถูกวิธีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจสร้างความเสียหายทั้งในเรื่องเงินทุน ระยะเวลาในการแก้ไข และสร้างความหงุดหงิดใจโดยใช่เหตุ


เรามาดูกันว่า "ข้อควรระวังในงานติดตั้งหลังคาเหล็กเมทัลชีท" มีอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกท่านสามารถสังเกตและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการติดตั้ง



ความลาดเอียงของหลังคา

ความลาดเอียงของหลังคาควรมากกว่า 5 องศา ( หลังคาดี ต้องไม่มีน้ำไหลย้อนกลับ )

การใช้งานแผ่นเมทัลชีทแบบลอนมาตรฐาน ควรมีความลาดเอียงอย่างน้อย 5 องศา และควรมีความลาดเอียงเพิ่มขึ้นหากหลังคาที่ติดตั้งมีความยาวมาก หรือเป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ หากเป็นทรงหลังคาจั่ว ทรงปั้นหยา หรือหลังคาบ้านทั่วไปจะไม่ค่อยพบปัญหานี้เนื่องจากมีความลาดเอียงของหลังคาเกิน 20 องศาถ้าเป็นบ้านสมัยใหม่หรือ อาคารขนาดใหญ่ที่ใช้หลังคาประเภท Single Slope หรือ Double Slope แนะนำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบความลาดเอียงให้เหมาะสม หากน้ำระบายไม่ทัน อาจทำให้สิ่งของที่อยู่ด้านล่างเกิดความเสียหายได้




การระบายน้ำบนหลังคาเหล็กเมทัลชีท

การระบายน้ำบนหลังคาเหล็กเมทัลชีท ( ปล่อยให้น้ำไหลไป อย่าให้มีอะไรขวาง )

หลังคาเมทัลชีทนั้นสามารถทำองศาได้ต่ำมากๆ ถึง 5 องศา เรียกได้ว่าเกือบจะเป็นแนวระนาบได้เลย แต่ลอนหลังคาบางประเภทอาจต้องใช้ความลาดเอียงเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ทัน ไม่ล้นเกินความสูงของสันลอน เพื่อให้แน่ใจว่าหลังคาติดตั้งมาอย่างถูกต้อง การตรวจเช็กการระบายน้ำบนหลังคาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดย ต้องทดสอบให้แน่ใจว่าน้ำฝนจะสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้อย่างสะดวก และไม่รั่วซึมลงไปในอาคาร ก่อนทำฝ้าเพดาน ท่านอาจทำการฉีดน้ำบนหลังคาเพื่อทดสอบการระบายน้ำว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด วิธีนี้จะช่วยให้ท่านมั่นใจได้ว่าหลังคาเมทัลชีทจะไม่รั่วซึมจนก่อให้เกิดความรำคาญใจ




ระยะแปที่เหมาะสม

ระยะแปที่เหมาะสม ( ระยะแปที่ดีต้องไม่ “ตกท้องช้าง” )

ระยะแปที่เหมาะสมจะได้จากการคำนวณน้ำหนัก ต่อตารางเมตรของแผ่น โดยจะต้องมีความเหมาะสม กับความหนาของแผ่นหลังคาเมทัลชีทด้วยปัญหานี้มักพบบ่อยในงานต่อเติม โดยเฉพาะหลังคาโรงจอดรถ ที่มักจะนิยมออกแบบไม่ให้มีเสาคั่นกลางเพราะยิ่งหลังคามีความกว้าง และมีเสาไม่มาก ระยะแปยิ่งต้องมีความถี่มากกว่าปกติ และต้องทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะหากขนาดแปเล็ก ระยะแปห่างมาก แต่แผ่นหลังคามีความหนาน้อยไม่สมสัดส่วน จะทำให้เกิดการแอ่นตัวหรือที่ช่างทั่วไปเรียกกันว่า “ตกท้องช้าง” นั่นเอง การ "ตกท้องช้าง" สังเกตเบื้องต้นได้จากการมองด้วยสายตา ที่จะเห็นว่าหลังคาแอ่นลงคล้ายหลุมขนมครก





ยึดหลังคาด้วยสกรูที่ได้มาตรฐาน

ยึดหลังคาด้วยสกรูที่ได้มาตรฐาน ( 40% ของหลังคารั่วที่หัวสกรู )

หลังคาเมทัลชีทมี 2 ระบบ คือแบบยึดด้วยสกรู (Bolt System) และแบบยึดด้วยการกดล็อค (Boltless System) ส่วนมาก 80% ที่ใช้งานเป็นแบบสกรู และนี่

คือจุดตายที่มักไม่มีใครยอมบอก สกรูมีทั้งแบบที่ได้

มาตรฐานและมีการรับประกัน และสกรูทั่วไปราคาตัวละ

ไม่ถึง 1 บาท แต่ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว เพราะสกรูที่ไม่ได้มาตรฐานจะเป็นสนิมในเวลาอันรวดเร็ว และจะทำให้รูเจาะเกิดสนิมเป็นรูรั่ว ทำให้หลังคาเกิดความเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานมาตรฐานของแผ่นหลังคาเมทัลชีท เพราะฉะนั้น เมื่อตัดสินใจเลือกใช้เมทัลชีทเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว การเลือกสกรูที่ได้มาตรฐานก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน





การเจาะยึดหลังคาควรทำโดยผู้ชำนาญการ

การเจาะยึดหลังคาควรทำโดยผู้ชำนาญการ ( ขันสกรูแน่นแต่พอดี อย่าให้ยางรองหลุด )

ต่อให้สกรูดีมีมาตรฐาน แต่หากเจาะยึดแน่นเกินไป ก็สามารถทำให้เกิดรูรั่วขึ้นได้เหมือนกัน สกรูยึดหลังคาเมทัลชีทแต่ละตัวจะมีแหวนยางรองกันน้ำอยู่ 1 วง หากมีการขันจนแน่นเกินไปจะทำให้ยางรองปลิ้นหลุดออกมา หรือร้ายกว่านั้นคือขันแน่นจนยางขาด ซึ่งจะกลายเป็นจุดอ่อนของหลังคาในระยะยาว ทางแก้ไขก็คือ ให้ขันออกแล้วเปลี่ยนยางวงใหม่แทน และขันแน่นพอดี ๆ แค่ตึงมือก็พอ และท่านสามารถตรวจสอบการเจาะเบื้องต้นด้วยการเดินดูว่ามีแสงลอดลงมาตรงไหนบ้างเพื่อทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนปิดงาน ข้อสำคัญคือ ควรเลือกสกรูคุณภาพดีเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นสนิมในอนาคต





วัสดุหลังคาต้องได้มาตรฐาน ( หลังคาดีต้องมีรับประกัน )

การประหยัดงบก่อสร้างเป็นสิ่งที่ทุกโครงการปรารถนา และหากมีตัวเลือกที่ราคาย่อมเยากว่า แต่ยังคงรักษามาตรฐานงานที่ดี ก็นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ ปัจจุบันนี้คุณสามารถเลือกวัสดุหลังคา ที่เหมาะสมกับงบประมาณงานก่อสร้างได้ง่ายดายยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ใช้จำเป็นต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่งและเหมาะสมกับงานประเภทนั้น ๆ เช่น งานหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้เลือกความหนาเมทัลชีท 0.35 มิลลิเมตร เพราะหากมีความหนาน้อยกว่านี้จะไม่เหมาะกับงานหลังคาบ้าน แต่จะเหมาะกับงานรั้วหรืองานทั่วไป ที่ไม่ต้องการความทนทานมากนัก นอกจากความหนาของหลังคาเมทัลชีทแล้ว ควรตรวจดูว่าเมทัลชีทนั้นผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. หรือมีการรับประกันคุณภาพหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหลังคาเมทัลชีทที่ใช้จะสามารถทำหน้าที่ปกป้องบ้านของเราไปได้ยาวนานโดยไม่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเราในอนาคต



หากท่านต้องการตัวเลือกที่คุ้มค่า คุ้มราคา

สำหรับโครงการบ้านในฝันของท่าน สามารถทักทายสอบถามและสั่งซื้อเมทัลชีท

จาก เสริมไท สตีลเวิคส์ ได้เลยครับ . . . . . คลิ๊ก








ดู 746 ครั้ง

Comments


bottom of page